top of page

เรียนรู้เรื่องยากๆให้เข้าใจ ด้วย เทคนิค Feynman


Richard Feynman

May 11,1918 - February 15,1988

“If you can’t explain it simply, then you don’t understand it well enough.”

ประโยคข้างต้นถูกกล่าวโดยโดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เจ้าของทฤษฎีสัมพัทธภาพ แปลได้ว่า “หากคุณไม่สามารถอธิบายมันออกมาให้ง่ายๆแล้ว แปลว่าคุณยังไม่เข้าใจมันดีนัก” หลายคนอาจจะเจอปัญหานี้กันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือวัยทำงาน ในชีวิตประจำวันของคนแต่ละบทบาทย่อมต้องศึกษาทำความเข้าใจบางสิ่งบางอย่างให้ถ่องแท้ เพื่อที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ต่อยอด อันเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับการศึกษา หรือหน้าที่การงานของตนเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อขึ้นชื่อว่าต้องศึกษาหรือทำความเข้าใจแล้ว สิ่งนั้นย่อมเป็นสิ่งใหม่ที่หลายๆคนเพิ่งเคยเจอเป็นครั้งแรกในชีวิต การกระโดดออกมาจากคอมฟอร์ทโซนเพื่อมาศึกษาจึงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดายนัก แต่วันนี้ทาง Interboosters ขอนำเสนอ “Feynman Technique” ที่จะช่วยให้คุณทำความเข้าใจเรื่องที่คุณกำลังศึกษาอยู่ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ อีกทั้งใช้เวลาน้อยลงอีกด้วย

“Feynman Technique” ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติกับ Richard Feynman นักฟิสิกส์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลในปี 1965 สาขา Quantum electrodynamics (ทฤษฎีสนามควอนตัม) อันเป็นความรู้ที่มีคุณค่าต่อวงการวิทยาศาสตร์อย่างมหาศาล ถูกนำไปต่อยอดทางด้านความรู้ด้านวิทยาศาสตรได้มากมาย อาทิเช่น การพัฒนาไดอะแกรมของ Feynman ที่เป็นกราฟพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ ที่แสดงถึงการทำงานของ subatomic particles

นอกจากการเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จแล้ว เขายังเป็นครูและผู้อธิบายที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย ซึ่งหนึ่งในชื่อที่ Feynman มักถูกเรียกคือ “นักอธิบายผู้ยิ่งใหญ่” เพราะเขาเป็นผู้ที่สามารถนำ “แก่นสาร” จากชุดความรู้ที่ซับซ้อน และถ่ายทอดออกมาในภาษาที่เข้าใจง่าย สามารถเข้าใจโดยคนทั่วไปได้ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลหลักเบื้องหลัง ว่าทำไมเขาจึงเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ผู้ประสบความสำเร็จอย่างมาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การศึกษาของเขาเองก็มีชื่อเสียงเรื่องความซับซ้อน Feynman ต้องทำงานหนักอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยผ่านสมการจำนวนมากมาย จนกว่าชุดความรู้ดังกล่าวที่เขากำลังถกเถียงหาคำตอบอยู่ด้วยนั้น ถูกแก้ไขจนสามารถอธิบายให้เข้าใจได้อย่างเป็นธรรมชาติในหัวของเขาเอง

“Feynman Technique” ประกอบด้วยสี่ข้อ ที่จุดมุ่งหมายของการทำความเข้าใจชุดความรู้ต่างๆคือ ต้องอธิบายให้ออกมา “ง่าย” เข้าไว้ และวิธีที่ทรงประสิทธิภาพ ที่สุดที่จะมั่นใจว่าคุณได้เข้าใจมันแล้วจริงๆ ในรายละเอียดปลีกย่อยมามายของชุดความรู้ต่างๆ ที่กำลังตีกันวุ่นวายยในหัวของคุณ คือการอธิบายให้กับใครบางไม่เคยรู้เรื่องราวดังกล่าวมาก่อน ความรู้เป็นศูนย์ นั่นเป็นบททดสอบขั้นสุดของความรู้ของคุณในหัวข้อนั้นๆ

ซึ่งก่อนที่จะเริ่มทำลองทำตามขั้นตอน เราจะมาเตรียมตัวตาคำแนะนำของ Feynman ก่อน กฎข้อแรกที่พึงระลึกถึงคือ คุณห้ามหลอกตัวเองว่าคุณเข้าใจชุดความรู้ที่คุณต้องการศึกษาดีแล้ว

มาเริ่มกันเลย

ข้อหนึ่ง นำกระดาษมาหนึ่งแผ่น และเขียนชื่อของชุดความรู้ที่ต้องการทำความเข้าใจกล่าวไว้ด้านบนสุด ดังตัวอย่างนี้จะใช้ The Pythagorean Theorem (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส แสดงความสัมพันธ์ในเรขาคณิต ระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้านที่เหลือ)

ข้อสอง ทำการอธิบายชุดความรู้ดังกล่าว โดยใช้ภาษาแบบง่ายๆ ในภาษาที่คุณสามารถพูดสื่อสารได้ดี หลักๆคือ ต้องอธิบายออกมาให้ง่ายๆสำหรับการเข้าใจ เหมือนกับว่าคุณกำลังสอนใครบางคนอยู่ แต่อย่าหยุดอยู่ที่การให้คำนิยามกับชุดความคิดดังกล่าวเท่านั้น แต่ต้องทำการอธิบายผ่านตัวอย่าง และมั่นใจได้ว่าคุณสามารถใช้ชุดความรู้ดังกล่าวในการฝึกฝนด้วยเช่นกัน กล่าวคือ สามารถนำไปใช้ได้จริงนั่นเอง

ข้อสาม ชี้จุดที่เป็นปัญหา ที่คุณยังเป้นกังวลหลังจากที่คุณทำการอธิบายไปแล้ว หรือชี้จุดที่คุณยังคงติดขัดอยู่ จุดที่ยังคงอิบายได้อย่างตะกุกตะกัก และกลับไปดูต้นฉบับของสิ่งที่คุณศึกษา หรือกลับไปดูโน้ตที่คุณจดไว้ หรือทำความเข้าใจผ่านแบบฝึกหัด จนคุณสามารถเข้าใจมันได้ ในรายละเอียดรองๆที่เหลือ ซึ่งใช้วิธีการเดียวกันกับจุดที่ไม่เข้าใจอื่นๆ

ข้อสี่ พิจารณาคำอธิบายของคุณอีกครั้ง พร้อมทั้งมาร์คจุดที่ยังคงเข้าใจได้ยาก และอธิบายส่วนนั้นให้ง่ายขึ้น เช่น ในจุดที่ใช้ศัพท์เทคนิคต่างๆ หรือศัพท์ที่มีความซับซ้อนมาก ยากแก่การเข้าใจ ให้นำมาอธิบายใหม่ด้วยคำที่ง่ายแก่การเข้าใจ

และนี่เป็นทั้งหมดของ Feynman Technique การใช้เทคนิคดังกล่าวนั้นเป็นประโยชน์อย่างน่าเหลือเชื่อ เพราะข้อหนึ่ง จะช่วยให้เห็นถึงภาพรวมของสิ่งที่คุณต้องการทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว และเห็นว่าจุดไหนที่คุณยังไม่เข้าใจมัน ข้อสองจะช่วยให้คุณชี้ได้ทันทีว่าจุดไหนที่คุณยังคงติดขัด จุดไหนที่คุณต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้น และนั่นเป็นสิ่งที่ทำให้เทคนิคดังกล่าวนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่เยี่ยมยอดสำหรับการขบคิดเกี่ยวกับชุดความรู้ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพมาก และใช้เวลาน้อยลง

อีกหนึ่งคำแนะนำเพิ่มเติมส่งท้าย ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนที่สี่ แทนที่จะคิดว่า “ฉันจะทำให้สิ่งนี้มันง่ายขึ้นยังไง” หรือถ่ายทอดมันออกมาในภาษาแบบง่ายๆ ให้คิดด้วยว่า “จะอธิบายสิ่งนี้ให้กับเด็กคนหนึ่งอย่างไร” เพราะเด็กมักจะถามว่า ทำไม ทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้น และนี่เป็นการท้าทายข้อสมมติฐานของตน ตัวอย่างเช่น กลับไปที่ Pythagorean Theorem ซึ่งคุณอาจจะรู้สูตร แต่เด็กอาจจะถามคุณว่า ทำไมสูตรดังกล่าวมันจึงใช้ได้ ทำไม Pythagorean Theorem ถึงเป็นกฎที่ใช้อธิบายสามเหลี่ยมต่างๆได้ ซึ่งการจะตอบให้เด็กเข้าใจ คุณจำเป็นต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ และสามารถตกผลึกเป็นคำอธิบายฉบับง่ายๆ ของตนเองนั่นเอง

แปล เรียบเรียง และภาพประกอบจาก https://www.youtube.com/watch?v=_f-qkGJBPts&t=10s&frags=pl%2Cwn How to Learn Faster with the Feynman Technique (Example Included)


Recent Posts

bottom of page