ภาษาอังกฤษที่ถูกใช้ในกลุ่มผู้ใช้ที่มาจากประเทศที่ภาษาอังกฤษไม่ใข่ภาษาหลักนั้น เป็นเรื่องธรรมดาที่รูปแบบการถ่ายทอดย่อมมีความแตกต่างไปจากกลุ่ม Native speakers แน่นอน ด้วยเหตุนี้ การเรียนรู้ภาษาอังกฤษจึงเป็นการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด ความรู้ต้องได้รับการอัพเดทอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารให้มีความชัดเจนทั้งทางผู้ส่งสารและผู้รับสาร อีกทั้งยังเป็นการแสดงทักษะความเป็นมืออาชีพ ที่มีการสื่อสารอย่างเป็นธรรมชาติในแบบ Native speakers อีกด้วย
ในวันนี้ ทาง InterBoosters ขอแชร์ 5 วลีในการพูดแบบผิดๆ ที่มักถูกใช้จนเป็นปกติ โดยที่ Native speakers ไม่ใช้กัน เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเหล่านี้ จะช่วยเพิ่มพูนทักษะความรู้ ไม่ให้ผู้เรียนทุกท่านแค่ “พูดภาษาอังกฤษได้” แต่ “พูดภาษาอังกฤษเป็น” กันค่ะ
1. การใช้คำบุพบทผิดๆ ในประโยคยอดฮิตอย่าง Have you ever been in country/city ?
การสอบถามเกี่ยวกับการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ โดยใช้รูปประโยค Have you ever + been + in + สถานที่ เช่น “Have you ever been in Italy”, “Have you ever been in Istanbul ” ที่ถูกต้องควรใช้คำบุพบท “to” แทนที่ “in” เมื่อแก้ไขประโยคตัวอย่างให้ถูกต้อง จะเป็นดังนี้ “Have you ever been to Italy ?” “Have you ever been to Istanbul ?”
2. วลีสอบถามถึงการแต่งงานอย่าง “Are you married with + someone ?”
เช่น คุณสอบถามเพื่อของคุณว่าได้แต่งงานกับแฟนหนุ่มแล้วหรืออย่าง “Are you married with Will” ไม่ใช่การใช้อย่างถูกต้อง ที่ถูกต้องควรใช้ “to“ แทน แก้ไขประโยคตัวอย่างให้ถูกต้องคือ “Are you married to Will ?” - คุณแต่งงานกับวิลแล้วหรือ
ส่วนวลีอย่าง “married with ” จะถูกใช้ในอีกความหมายหนึ่ง คือ “I am married with kids” - ฉันได้เข้าพิธีวิวาห์พร้อมกับเด็กๆ หรือ ฉันแต่งงานและฉันมีลูกแล้ว (ในระหว่างที่เหตุการณ์การแต่งงานเกิดขึ้น)
3. การเล่าถึงการทำบางสิ่งบางอย่างตั้งแต่จุดเริ่มต้นในอดีต ด้วยรูปประโยค “I’ve been learning + วิชา/หลักสูตร/กิจกรรม + since + จำนวนปี + ago ”
โดยประโยคการพูดลักษณะดังกล่าว การใช้ Since ตามด้วยระยะเวลาที่ผ่านมานั้นผิด ข้างหลัง Since ควรเป็นจุดบ่งบอกเวลาที่เริ่มต้น ( a fixed point in time ) เช่น “I’ve been learning English since 2016” ฉันเริ่มเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ปี 2016
การบ่งบอกถึงระยะเวลา ควรใช้คำบุพบท “for” แทน เช่น
“I’ve been learning English for 2 years ”. ฉันเรียนภาษาอังกฤษมาเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว
4. การเรียกครู/อาจารย์ ด้วย teacher
เช่น “Hey, Teacher Lucy, how are you?” ซึ่งในประเทศอังกฤษหรือสหรัฐอเมริกา จะไม่มีการเรียกครูด้วยการขึ้นต้นว่า Teacher แล้วตามด้วยชื่อ ในโรงเรียน นักเรียนจะกล่าวถึงครูแต่ละท่านด้วยคำนำหน้าอย่าง “Miss, Misses,Mister,Mizz” และตามด้วยชื่อสกุล (Mizz ใช้เรียกผู้หญิงที่เราไม่ค่อยสนิทด้วย และไม่ทราบว่าหล่อนแต่งงานแล้วหรือยัง) หรือ หากครู/อาจารย์ท่านนั้นมีตำแหน่งทางวิชาการ เช่น ศาสตราจารย์ (Prof.,Dr.) ก็ใช้นำหน้าชื่อ
5. การร้องขอให้อธิบายเพิ่มเติม ด้วยประโยค “Can you explain me that/this…?”
ซึ่งที่ถูกต้อง ประโยคขอร้องดังกล่าวต้องใส่ “to” ก่อนบุคคล/สรรพนามของผู้ที่ต้องการคำอธิบาย แก้ไขประโยคตัวอย่างให้ถูกต้องเป็นดังนี้ “Can you explain this to me ?”, “Can you explain that to me?” - คุณช่วยอธิบายสิ่งนี้/สิ่งนั้นให้ผม/ดิฉันได้หรือไม่
หรือการขอร้องแบบสั้นๆ “Explain me” นั้นก็ผิด ที่ถูกต้องควรเป็น “Explain to me” - อธิบายสิ่งนี้ให้ฉันด้วย
เช่น “Explain to me your answer” หรือ “Explain your answer to me”
อย่างไรก็ตาม “Explain me” สามารถอยู่ในบริบทเฉพาะอย่าง เช่น ในสถานการณ์ที่คุณกำลังไปพบจิตแพทย์ ในขณะที่กำลังเอนตัวลงนอนบนโซฟาที่แสนผ่อนคลายของคลินิก และคุณก็เกิดภาวะที่เข้าใจตนเอง จึงเอ่ยกับจิตแพทย์ว่า “Explain me to me” - อธิบายตัวฉัน ให้ฉันเองฟังหน่อยได้ไหม ในที่นี้จะเห็นว่า การใช้ “explain me” สามารถใช้ได้ แต่ต้องกล่าวถึงกรรมที่จะถูกอธิบายในประโยคนั้นด้วย
เรียงเรียงจาก : 5 things native English speakers NEVER say!
https://www.youtube.com/watch?v=B8TultRu3Jc
เผนแพร่เมื่อ 21 ธ.ค. 2018