top of page

โปรดระวัง! ข้อสังเกตการใช้คำพ้อง ในภาษาอังกฤษแบบ British Style


ภาษากับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกขาดจากกันได้ การใช้ภาษาอย่างเหมาะสม จำเป็นต้องคำนึงถึงบริบทของการใช้ ในสังคมวัฒนธรรมนั้นๆ ในภาษาอังกฤษก็เช่นเดียวกัน ที่ผู้ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ต้องมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ที่นำไปใช้ในแต่ละสถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทำให้การสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ รวมถึงไม่สร้างความบาดหมางให้ระหว่างคู่สนทนา ในวันนี้ ทาง Interboosters จึงขออาสามาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับคำศัพท์ธรรมดาที่ถูกใช้ในชีวิตประจำวันเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ในขณะเดียวกัน คำศัพท์เหล่านั้น ก็ไม่ได้มีความหมายเดียว กลับมีความหมายที่ขึ้นอยู่กับบริบทการใช้ที่ต่างๆกันอีกด้วย คำเหล่านั้นจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

Homophone, homograph, homonym – ความรู้เกี่ยวกับคำพ้องแบบต่างๆในภาษาอังกฤษ แบบ British Style

Homo มาจากภาษากรีก มีความหมายว่า “เหมือน” (same)

จากนั้น เราลองมาพิจารณาเมื่อนำ คำนำหน้า (prefixes) อย่าง Homo มาผนวกเข้ากับ คำต่อท้าย (suffixes) แล้วความหมายจะเป็นดังนี้

- Homophone (คำพ้องเสียง) : Homo (เหมือน) + Phone (เสียง) = คำที่ออกเสียงเหมือนกัน (words that sound the same) แต่สะกดต่างกัน ความหมายต่างกัน แต่การออกเสียงเหมือนกัน เช่น Two, too และ to

- Homographs (คำพ้องรูป) : Homo (เหมือน) + graphs (การเขียน) = คำที่สะกดเหมือนกัน แต่มีความหมายต่างกัน การออกเสียง อาจจะเหมือนหรือต่างก็ได้ เช่น Entrance (V) - ดึงความสนใจของผู้คน Vs. Entrance (N) – ทางเข้า หรือ Bat (ไม้เบสบอล) Bat (ค้างคาว)

- Homonym การรวมตัวของ Homophone และ Homographs หมายถึงคำที่ทั้งออกเสียง และสะกด เหมือนกัน แต่ความหมายแตกต่างกัน เช่น kind ที่มีความมหมายว่า ชนิด หรือ kind ที่มีความหมายว่า ใจดี ซึ่ง Homographs เป็นคำชนิดหนึ่งของ Homonym ความแตกต่างระหว่าง Homographs และ Homonym คือ เรื่องการออกเสียง ซึ่ง Homographs ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่ Homonym ต้องเหมือนกัน

เมื่อเราทราบถึงชนิดคำทั้งสามประเภทนี้แล้ว ในการสื่อสารแต่ครั้ง ก็จำเป็นต้องเลือกเฟ้นคำศัพท์ที่เหมาะสมกับบริบทนั้นๆ นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้ใช้ภาษาอังกฤษ ที่ไม่ใช่ native speakers ได้เข้าใจในสิ่งที่เจ้าของภาษาได้สื่อสารออกมา และสามารถแยกได้ว่าคำนั้นๆเป็น Homophone, homographs หรือ Homonym ได้อย่างแม่นยำ ไม่เกิดความสับสนในการใช้ และควรมีการนำไปใช้จริง ในบทสนทนาในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างดังคำเหล่านี้

Homonym

เราจะเริ่มด้วยคำประเภท Homonym ดังตัวอย่างเหล่านี้

1. Address = สถานที่ (คำนาม) , พูดกับอีกคน (กริยา)

2. Band = วงดนตรี (คำนาม) , แหวน ( Ex. Wedding ring คำนาม)

3. Bark = เสียงสุนัขเห่า (คำนาม), เปลือกไม้ (คำนาม)

4. Current = ที่เป็นปัจจุบัน (คำคุณศัพท์) , กระแส เช่น กระแสน้ำ กระแสไฟ (คำนาม)

5. Fair = สวยงาม (คำคุณศัพท์), ลักษณะสีผิวขาว (คำคุณศัพท์), ยุติธรรม (คำคุณศัพท์)

6. Match = คู่ , ของที่มาเป็นคู่ (คำนาม), ไม้ขีดไฟ (คำนาม) , การแข่งขันกีฬา (คำนาม)

7. Mean = หยาบคาย (คำคุณศัพท์), ค่าเฉลี่ยกลาง (คำนาม)

8. Pole = คนโปแลนด์ (คำนาม) , เสาเหล็ก (คำนาม)

9. Spring = ฤดูใบไม้ผลิ (คำนาม), สปริง โลหะรูปเกลียว (คำนาม)

ตัวอย่างการใช้ที่ต้องพึงระวังในบริบทต่างๆ เช่น เมื่อเราอยู่ในที่สาธารณะ แล้วเห็นเสาโลหะต้นหนึ่ง ซึ่งไม่สวยเอาเสียเลย เราจึงพูดว่า “That’s an ugly pole” เสาต้นนั้นดูน่าเกลียดจัง ซึ่งการพูดออกมา ต้องหันไปดูรอบๆตัวด้วยว่า มีผู้คนที่อาจจะเป็นชาวโปแลนด์อยู่ในบริเวณนั้นหรือไม่ เพราะหากเค้ามาได้ยินเข้า อาจจะเข้าใจว่า เรากำลังกล่าวหาว่าคนโปแลนด์อัปลักษณ์ก็เป็นได้

Homophone (คำพ้องเสียง)

ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. Ate (กิน กริยาช่องสองของ eat) Vs. Eight (เลข 8 คำนาม)

2. Bare (เปลือย คำคุณศัพท์) Vs. Bear (หมี คำนาม)

3. Buy (ซื้อ คำกริยา) Vs. By (โดย คำบุพบท)

4. Cell (ห้อง คำนาม ) Vs. Sell (ขาย คำกริยา)

5. Eye (ตา คำนาม) Vs. I (ฉัน คำสรพพนาม)

6. Flour (แป้งทำอาหาร คำนาม) Vs. Flower (ดอกไม้ คำนาม)

7. Hour (ชั่วโมง คำนาม) Vs.Our (ของพวกเรา คำสรรพนาม)

8. Mail (จดหมาย คำนาม) Vs. Male (เพศชาย คำนาม)

Homographs (คำพ้องรูป)

ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. Bass (ชื่อปลาชนิดหนึ่ง คำนาม) Vs. Bass (เสียงทุ้มต่ำ คำนาม)

2. Desert (ทะเลทราย คำนาม) Vs. Desert (ออกจาก คำกริยา)

3. Lead (นำหน้า คำกริยา) Vs. Lead (ตะกั่ว คำนาม)

4. Row (เถียง,ทะเลาะกัน คำกริยา) Vs. Row (แจวเรือ คำกริยา)

5. Tear (ฉีกกระชากออกจากกัน คำกริยา) Vs. Tear (น้ำตา คำนาม)

หวังว่าวันนี้ ผู้อ่านจะได้รับความรู้เกี่ยวกับคำพ้องแบบต่างๆ ตลอดจนนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องในบริบทแวดล้อมต่างๆ และหากใครอยากมีคำพ้องแบบต่างๆ ที่เรายังไม่ได้ยกตัวอย่างในบทความนี้ ก็สามารถลองแลกเปลี่ยนกับ Interboosters ได้นะคะ 😊

ที่มา : Be SUPER CAREFUL with these "ordinary" everyday words! https://www.youtube.com/watch?v=M_3CD3o1Rp0 เผยแพร่เมื่อ 19 ต.ค.2018


Recent Posts

logo new use-03.png

InterBoosters

  • Contact Us

  • LINE @interboosters​

QR code Line official Interboosters.png
Screen Shot 2019-05-30 at 4.01.56 PM.png
  • Follow Us

  • ig
  • Facebook
  • YouTube
bottom of page