หลายๆท่านคงจะพอจำได้ถึงคลาสวิชาภาษาอังกฤษที่นักเรียน และครูผู้สอนจะมีการกล่าวทักทายกันก่อนเริ่มคลาสเรียน คงจะหนีไม่พ้นกับประโยคถามตอบสุดคลาสสิคอย่าง “Good morning/afternoon/evening, teacher. How are you today?” ผู้สอนก็จะตอบว่า “I’m fine, thank you and you?” นักเรียนก็จะขานตอบด้วยคำว่า “I’m fine. Thank you” แต่อันที่จริงแล้ว การทักทาย ถามตอบในชีวิตประจำวันนั้นมีมากกว่าประโยคซ้ำๆเดิมเหล่านี้มาก วันนี้เช่นเคย ทาง InterBoosters จะขอนำเสนอเนื้อหาว่าด้วย ประโยคทักทายที่ใช้ถามตอบในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ท่านผู้อ่าน สามารถนำไปใช้ได้อย่างหลากหลาย เป็นมืออาชีพ และเป็นธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมตัวสอบ SAT, IELTS ได้อีกด้วยค่ะ
How are you? ไม่ใช่ประโยคทักทาย ถามไถ่ในชีวิตประจำวันแบบเดียวที่ใช้กัน
ในการใช้ภาษาอังกฤษของ Native speakers นั้นมีหลากหลายประโยคคำถามเพื่อใช้ในสถานการณ์ดังกล่าว เช่น - How is it going?
- How are you doing? หรือในประเทศออสเตรเลีย มักใช้ประโยคว่า How are you going? ซึ่งไม่ค่อยนิยมใช้ในประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา
- How are things?
- You okay? , You alright?ในบริบทดังกล่าวสามารถละ Verb to be ได้
อย่างไรก็ตาม You alright? มักเป็นคำที่นิยมใช้ในอังกฤษ ไม่ค่อยแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา โดยความหมายของมันคือ “Hello”, “How are you?” ซึ่งหากไปพูดกับชาวอเมริกัน มีแนวโน้มว่าความหมายที่ต้องการสื่ออาจถูกเข้าใจผิด หรือคลาดเคลื่อนไปได้ค่ะ ดังนั้น การเลือกใช้ประโยค ควรดูที่บริบททางวัฒนธรรมเป็นหลักด้วยค่ะ
แม้ว่าการถามโดยใช้ “You okay?” “You alright?” จะดูเป็นการถามแบบเป็นการทักทายแบบสามัญทั่วไป หากแต่วันหนึ่ง คนที่คุณกำลังทักทายนั้น กำลังประสบเรื่องราวที่ทำให้เขาทุกข์ใจ และคุณเองก็พอทราบเหตุนั้นบ้าง การถามคำถาม “You okay?” “You alright?” ก็สามารถปรับโทนเสียงสูงต่ำ (intonation) เข้าไปในขณะถาม เพื่อให้ผู้ถูกถามรับรู้ว่า คุณกำลังถามเพราะคุณใส่ใจเขาจริงๆ
นอกจากนี้ ประโยคคำถามที่ใช้ถามเพื่อแสดงออกถึงความห่วงใย อยากช่วยแบ่งปันเรื่องราวที่เพื่อน หรือคนรู้จักของคุณกำลังประสบพบเจออยู่ ก็สามารถใช้ประโยคเหล่านี้ได้เช่นกัน “What’s up?”, “What’s the matter?” พร้อมเพิ่มการปรับโทนเสียงสูงต่ำ (intonation) เข้าไปในขณะพูดด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีความหลากหลายในประโยคที่เราใช้ถามหรือทักทายในชีวิตประจำวัน แต่ก็มีประโยคที่ไม่ควรใช้ เนื่องจากเป็นการแสดงถึงความไม่สุภาพ ความไม่ใส่ใจถึงปัญหาคนอื่น รวมถึงความหมายของประโยคเป็นไปในเชิงลบอีกด้วย ซึ่งก็คือ “What is your problem?”
คำตอบเมื่อถูกทักทาย ถามไถ่ในชีวิตประจำวัน
มาถึงช่วงคำตอบที่สามารถนำมาตอบ นอกเหนือ “I’m fine. Thank you, and you?” กันบ้าง
โดยคำเหล่านี้ ใช้ตอบเมื่อคุณรู้สึกว่าชีวิตช่วงนั้นก็ปกติดี อาจจะดีมาก หรือปานกลาง ไม่ทุกข์ร้อน ก็สามารถใช้คำเหล่านี้ได้ค่ะ
- Yeah สั้นๆง่ายๆด้วยคำนี้ไปเลยค่ะ ตัวอย่างเช่น “Yeah, good, you?” นิยมในประเทศอังกฤษ ถือเป็นการตอบที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ค่ะ
- I’m great
-I’m alright
- I’m good
- I’m pretty good
- doing well
- doing good
- can’t complain
จะเห็นว่า คำตอบเหล่านี้ ไม่ได้เป็นการเพิ่มคำขยายที่แสดงถึงอารมณ์ที่โจ่งแจ้งเกินไป ถือว่าเป็นการตอบที่เหมาะสม เป็นการไม่โอ้อวดตัวจนเกินไปนั่นเองค่ะ
อย่างไรก็ตาม อาจได้ยินคำตอบนี้ในบางสถานการณ์ ได้แก่
“I’m wonderful”, “everything’s hunky-dory” แปลว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อย ไม่มีปัญหา ราบรื่นทุกประการ ซึ่งเป็นไปได้ว่าคำตอบที่ไม่ปกตินี้ เป็นการตอบแบบติดตลก หรือประชดประชันเสียดสีค่ะ
คำที่ไม่ควรพูด
So-so เป็นคำที่ native speakers ไม่เลือกใช้กันในชีวิตประจำวันเท่าไหร่นัก การนำมาใช้อาจให้ทำดูไม่เป็นธรรมชาติ
เมื่อมีคำตอบที่ใช้ตอบเมื่อคุณรู้สึกชีวิตปกติสุขดีอยู่แล้ว แต่ถ้าหากในช่วงนั้นคุณมีเรื่องไม่สบายใจอยู่ แล้วคนสนิทมาทักทาย ถามไถ่เพื่อจะช่วยแบ่งปันเรื่องราวเหล่านั้น จะมีวิธีตอบอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
- เริ่มต้นคำตอบด้วย “Well,…” แล้วต่อด้วยสิ่งที่คุณต้องการบอก เช่น
“Well, I am a bit tired”
“Well, I am a bit sleepy”
“Well, I am a bit ill” หรือการกล่าวถึงความรู้สึกที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก จากสิ่งที่คุณเผชิญ เช่น
“I’ve been better”
“I’ve seen better days”
หรืออาจจะเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนจิตใจมากพอสมควร เช่น
“Not (doing) +that/so + great/well”
โดยสามารถนำมาประกอบกันเพื่อตอบได้หลายแบบ เช่น
“I’m not doing so great”, “Not that well” เป็นต้น
หวังว่าหลายๆท่านจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ ได้เอาไปใช้ในการสนทนากับเพื่อนชาวต่างชาติได้อย่างเป็นธรรมชาติ รวมถึงได้เตรียมคำศัพท์ รูปแบบประโยคไปเตรียมตัวสอบ SAT,IELTS กันอีกด้วยนะคะ
ที่มา Stop Saying "I'm Fine" - Speak English Like a Native! https://www.youtube.com/watch?v=_53mo10_Mbk
เผยแพร่เมื่อ 9 มี.ค.2019